หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบลแจงงาม ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
ข้อมูล
หน่วยงาน
ข้อมูล
หน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหาร
บุคคล
การบริหาร
บุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการ
ประชาชน
บริการ
ประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลแจงงาม
อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
 
 
 
นายภาสวงศ์ วัชราไทย
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแจงงาม
 
 
ประวัติความเป็นมา
 
 
บันทึกตำบลแจงงาม
 
ตำบลแจงงาม ตั้งอยู่ในเขตอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี ประชาชนในพื้นที่ประกอบด้วย กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ดั้งเดิม และกลุ่มชนที่อพยพมาจากถิ่นอื่น ทำให้เกิดการผสมผสานความคิดและความเชื่อ รวมไปถึงประเพณีวัฒนธรรมได้อย่างกลมกลืน จนกลายเป็นรูปแบบวิถีชีวิตที่สงบและเรียบง่าย ตามวิถีวัฒนธรรมประเพณีไทยภาคกลางในปัจจุบัน
 
ประวัติตำบล
 
ตำบลแจงงามเดิมตั้งอยู่ ณ กิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาเมื่อมีการยกฐานะกิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ เป็นอำเภอหนองหญ้าไซ ตำบลแจงงาม จึงเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอหนองหญ้าไซ
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบในปี พ.ศ.2543 ได้พบร่องรอยของเนินดิน ที่ฝังศพในสมัย
  หินใหม่ ที่บ้านแจงงาม พบชิ้นส่วนของหม้อสามขาและเครื่องมือกระดูก กำหนดอายุแหล่งโบราณคดีราว 3,500 - 4,000 ปีมาแล้ว
  บ้านแจงงาม ตั้งอยู่ริมลำห้วยกระเสียว ซึ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำท่าจีนตอนบน ลำห้วยกระเสียวมีต้นกำเนิดมาจากเขตภูเขาสูง ทางตอนเหนือของจังหวัดสุพรรณบุรี ในเขตอำเภอด่านช้างต่อเนื่องกับเขตเทือกเขาในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี มีประวัติเล่าสืบต่อกันมาว่าเดิมพื้นที่บริเวณบ้านแจงงามมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นแจงขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ต้นแจงแผ่กิ่งใบเขียวขจี ทำให้พื้นที่แห่งนี้ได้รับการขนานนามว่า
“บ้านแจงงาม” และเป็นชื่อเรียกของตำบลแจงงามในระยะเวลาต่อมา
 
ที่ตั้ง
 
องค์การบริหารส่วนตำบลแจงงาม ตั้งอยู่เลขที่ 145 หมู่ที่ 4 ตำบลแจงงาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทย มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ โดยคิดตามระยะทางเดินรถโดยสาร ประมาณ 170 กิโลเมตร และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อำเภอหนองหญ้าไซ ประมาณ 12 กิโลเมตร สามารถเดินทางติดต่อได้ โดยใช้ถนนทางหลวงชนบทสุพรรณบุรี 3010 มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 66 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 41,250 ไร่
 
  อาณาเขตติดต่อ
 
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อบต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
อบต.หนองกระทุ่ม อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ อบต.ทัพหลวง อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อบต.หนองโพธิ์ อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อบต.หนองขาม อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี
 
อบต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
อบต.หนองกระทุ่ม อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
อบต.หนองขาม
อ.หนองหญ้าไซ
จ.สุพรรณบุรี
1
2
4
8
3
7
5
6
อบต.หนองโพธิ์
อ.หนองหญ้าไซ
จ.สุพรรณบุรี
อบต.ทัพหลวง อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี
 
จำนวนประชากร
     
จำนวนประชากรทั้งหมด 6,508 คน แยกเป็น
  ชาย  จำนวน 3,153 คน คิดเป็นร้อยละ 48.45
  หญิง จำนวน 3,355 คน คิดเป็นร้อยละ 51.55
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,372 ครัวเรือน
ความหนาแน่นเฉลี่ย 98.61 คน/ตารางกิโลเมตร
 
  เขตการปกครอง
 
หมู่ที่ หมู่บ้าน
จำนวนประชากร
ชาย หญิง รวม
จำนวน
ครัวเรือน
1 บ้านสระเตย 448 509 957 344
2 บ้านโคกพระ 331 354 685 250
3 บ้านวังน้ำโจน 303 310 613 229
4 บ้านแจงงาม 527 569 1,096 440
5 บ้านโปร่งกระมั่ง 425 438 863 287
6 บ้านก้อนแก้ว 393 423 816 350
7 บ้านดงเชือก 433 406 839 274
8 บ้านหนองหญ้าดอ 293 346 639 198
รวม 3,153 3,355 6,508 2,372
 
 
   
คู่มือประชาชน  
เอกสาร แบบฟอร์ม สำหรับติดต่อราชการ  
 
   
คำแนะนำการชำระภาษี  
ภาษีป้าย
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
 
 
 
 
   
   
รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์  
 
   
NAX
SOLUTION
 
เว็บไซต์เพื่อท้องถิ่นไทย